เมนู

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ไม่เหมือนกันด้วยลงโทษนั้น
ตามบรรดาศักดิ์ และหาบรรดาศักดิ์มิได้
พระนาคเสนจึงถวายพระพรไปว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ซึ่งว่าสัมปชานมุสาวาทนั้นก็เหมือนกัน สมเด็จพระสัพพัญญูตรัสโปรดไว้ตามวัตถุเบาและ
หนักเหมือนหนึ่งความที่เปรียบนี้ พระภิกษุรูปใดเจรจาเป็นสัมปชานมุสาวาท ลวงล่อให้เขาเสีย
ทรัพย์ให้เขาฉิบหายตายด้วยวาจาสัมปชานมุสาวาท นี้เป็นอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ใดกล่าว
สัมปขานมุสาวาท มิได้มีอธิบายจะให้เขาฉิบหายอันตรายอันใดอันหนึ่ง พระภิกษุนั้นต้องแต่ลหุ-
กาบัติเบา นี่แหละพระพุทธฎีกาของสมเด็จพระสัพพัญญูเข้าจะได้เป็นสองหามิได้ บพิตรจง
เข้าพระทัยด้วยประการดังนี้
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ทรงสดับ ก็สิ้นสงสัยตรัสสรรเสริญว่า สาธุ พระผู้เป็น
เจ้าวิสัชนาถูกต้องแล้ว โยมจะรับไว้ตามนัยที่พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้ทุกประการ
มุสาวาทครุลหุภาวปัญหา คำรบ 9 จบเพียงนี้

ยาจโยคปัญหา ที่ 10


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นสาคลราชธานี มีพระราชปุจฉาถามอรรถปัญหาแก่พระ
นาคเสนสืบไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สมเด็จพระมงกุฏาจารย์มีพระ
พุทธฎีกาตรัสว่า อหมสฺมิ ภิกฺขเว พฺราหฺมโณ ดูรานะภิกษุสงฆ์ทั้งปวง ตถาคตนี้เป็นพราหมณ์
ยาจโยโค ผู้ควรอันยาจกพึงขอ ปิยตฺตปาณี ล้างมือไว้คอยจะหยิบทานแจกจ่ายแก่ยาจก
ทั้งหลายทุกเมื่อ อนฺติมเทหธโร ทรงไว้ซึ่งพระบวรกายเป็นอันติมะมีที่สุด คือมิได้เวียนว่าย
ตายเกิดเป็นรูปเป็นกายต่อไป อนุตฺตโร เป็นผู้ยิ่งหาใครผู้ใดจะเปรียบมิได้ สมเด็จพระบรมไตร
โลกนาถประภาษไว้ดังนี้ นานมา ภควตา ภณิตํ กลับมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุ
สงฆ์ทั้งปวง อปฺปาพาธานํ แต่บรรดาสาวกของเราที่มีอาพาธน้อยนั้น พระพากุลเถระนี้มี
อาพาธความเจ็บน้อยยิ่งกว่าคนทั้งปวง พระพากุลเถรเจ้านี้ยกประเสริฐดังนี้ ก็และพระองค์เองก็
ได้ประชวรพระโรคพาธถึงสี่ครั้ง แล้วพระองค์ยกพระองค์ว่า หาผู้ใดจะประเสริฐเปรียบปานมิได้
ภายหลังกลับมายกยอพระพากุลเถระว่า เป็นเอตทัคคะมีอาพาธน้อยไม่เจ็บไข้เป็นอย่างยอดใน
หมู่สาวกของพระองค์ พระพุทธฎีกาทั้ง 2 นี้ไม่ต้องกัน พระองค์ประชวรถึงสี่ครั้งและยก